คำชี้แจง
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมาย คือ กฎ คำสั่ง หรือข้อบังคับความประพฤติมีไว้เพื่อควบคุมดูแลความเรียบร้อยต่างๆให้เป็นระเบียบ
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฎิบัติหมายความว่า ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดและทุกคนก็จะมีกฎหมายไว้คุ้มครองสิทธิแต่ละคนเพื่อประโชน์และความปลอดภัยของแต่ละคน
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย เพราะการให้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นจะบุคคลนั้นจะต้องมีความรู้เป็นอย่างดี มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีในการถ่ายทอดความรู้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพื่อจะได้รับรองว่าบุคคลนั้นสามารถสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ เชิญชวนให้ผู้ปกครองของนักเรียนแต่ละคนร่วมบริจาคเงินหรือทรัพยากรทางการศึกษาโดยชี้แจงรายละเอียดต่างๆให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบว่าต้องการอะไร เท่าไร จำเป็นแค่ไหน
ขอความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่ในชุมชน
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับมัธยมศึกษา(มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย)
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ แตกต่างกัน เพราะการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องปฎิบัติ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์ ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และมีหัวหน้าส่วนราชการดังนี้
1.สำนักงานปลัดกระทรวง
2.ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้
สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ เพื่อเป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติให้บุคลากรทางการศึกษาผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพต้องปฎิบัติ
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ได้กระทำผิด เพราะในมาตราที่ 43 ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้มีข้อยกเว้นไว้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประพฤติในทางที่ไม่ชอบไม่ควร
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ เด็ก คือ บุคลที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้จนเด็กต้องเร่ร่อนไปยังที่ต่างๆ
เด็กกำพร้า คือ เด็กที่พ่อ แม่ หรือทั้งพ่อและแม่เสียชีวิต หรือไม่สามารถระบุได้ว่าพ่อแม่ได้
เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ยากลำบาก แตกแยก หรือเด็กที่ต้องรับภาระเกินอายุหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีหรือคบกับบุคคลที่ไม่ดี
ทารุณกรรม คือ การทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพหรือทำร้ายทางร่างกายหรือทางจิตใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น