วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6



ให้นักศึกษาอ่านรายละเอียดของ พรบ.เงินเดือนเงินวิทยะฐานฯ แล้วตอบคำถาม

1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ   ศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด
   ตอบ พระราชบัญญัติ เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ 2547 ให้ไว้ ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2547

2. ตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน
    ตอบ ตำแหน่งที่ไม่มีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ใช้บัญชีของข้าราชการพลเรือนเงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน

3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไร
   ตอบ กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่าเนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นข้าราชการที่ได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 มิถุนายน 2550 ในการที่จะได้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นร้อยละเท่ากันทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ประกอบกับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้รายได้สุทธิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาลดลง สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละเท่ากันทุกอันดับในอัตราร้อยละ 4 หากอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท

4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู คศ.1 และรับเงินเดือนเท่าไร
    ตอบ เงินเดือนครูผู้ช่วย ที่บรรจุด้วย วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี เมื่อบรรจุ จะได้รับเงินเดือน 7,940 บาท ถ้าผ่านการประเมิน เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว 2 ปี จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1 ขั้น 10,770 บาท ตามบัญชีแนบท้ายกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ.2553 แต่ต่อมาได้มีการปรับเงินเดือนใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554 โดยมีผลบังคับใช้ ประกอบกับเงินเดือนขั้น 10,770 บาท ไม่มีในบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. จึงมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปรับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาทไป และให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาท เป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ดังตัวอย่างเช่น นาย ก. บรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ได้รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย ขั้น 7,940 บาท เมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว ในวันที่ 2 เมษายน 2554 ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาท ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2554 หากนาย ก.ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน จำนวน 0.5 ขั้น ก็ให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาทเป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้เลื่อนไปได้รับเงินเดือนในขั้น 11,310 บาท เป็นต้น

กิจกรรมที่ 5

ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา แล้วตอบคำถาม
ให้นักศึกษาตอบคำถามดังนี้
1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
    ตอบ ประกาศ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้ 12 มิถุนายน 2546

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
    ตอบ ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น

3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
    ตอบ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอน.ใบอนุญาต / กำหนดนโยบาย / ประสานส่งเสริมการศึกษาวิจัย

4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
     ตอบ ออก พัก เพิกถอนใบอนุญาต / รับรองปริญญา วุฒิบัตร ความรู้ประสบการณ์ / ออกข้อบังคับคุรุสภา / ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ครม.เกี่วกับนโยบายหรือการพัฒนาวิชาชีพ

5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
    ตอบ ค่าธรรมเนียม / เงินอุดหนุน / ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน / มีผู้อุทิศให้ / ดอกผล

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
     ตอบ 39 คน ประธานมาจาก ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย

7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
    ตอบ มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี / ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ

8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
    ตอบ 6 ข้อ สำคัญ คือ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
    ตอบ 17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา พิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน

10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
      ตอบ ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ –ไม่เกิน 65 ปี

11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
      ตอบ วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน

12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
      ตอบ อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิทางการศึกษา / ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด

13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
      ตอบ อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน

14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
      ตอบ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ / มาตรฐานการปฏิบัติงาน / มาตรฐานการปฏิบัติตน

15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
      ตอบ จรรยาบรรณต่อตนเอง , ต่ออาชีพ ,ต่อผู้รับบริการ , ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ,ต่อสังคม

16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
      ตอบ ยก/ตัก/ภาค/พัก/เพิก คือ ยกข้อกล่าวหา / ตักเตือน / ภาคทัณฑ์ / พักใช้ใบอนุญาต ไม่เกิน 5 ปี / เพิกถอนใบอนุญาต

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
      ตอบ 2 ประเภท คือ สามัญและกิตติมศักดิ์(เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์

18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
      ตอบ 5 วิธี คือ ตาย/ลาออก/คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้น/ถอดถอนกิตติมศักดิ์/ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
      ตอบ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
       ตอบ 23 คน รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
      ตอบ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
      ตอบ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
      ตอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
      ตอบ ต่อ/แทน , รอง , นาญ , ขึ้น = 200 , 300 , 400 . 500 บาท หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต 200 บาท , ใบรับรอง 300 บาท , แสดงความชำนาญการ 400 บาท , ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท

2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
    ตอบ วิชาชีพ เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อน ที่จะประกอบวิชาชีพต่างกับอาชีพ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพเท่านั้

2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
   ตอบ เป็นหลักประกันและคุ้มครองให้ผู้รับบริการทางการศึกษาได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น

3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
   ตอบ 1. ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
            2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
            3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่น มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
            4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย ชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

4.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่
กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ
ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
                   1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
                   2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
                   3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ยกข้อกล่าวหา (2) ตักเตือน (3) ภาคทัณฑ์ (4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตาม

5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
    ตอบ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์จะเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
มีความคล้ายกันเนื่องจากมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนการ พัฒนาฝีมือแรงงานด้วยระบบการฝึกตามความสามารถเป็นรูปแบบการฝึกที่มีการวาง แผนการฝึกระหว่างผู้รับการฝึกและผู้สอนโดยออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตาม ความต้องการและความสามารถของผู้รับการฝึก สภาพการฝึกเน้นการปฏิบัติตามกิจกรรมหรืองานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการ

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้ววตอบคำถาม
1.พระราชบัญญัติการศีกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
2.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง
ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
   1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศีกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
      ตอบ  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 
   2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
      ตอบ  ก.ผู้ปกครอง  หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
               ข.เด็ก  หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
               ค.การศึกษาภาคบังคับ  หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
               ง.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
   3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
      ตอบ ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา 
    4.ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารการกระทรวงศึกษาธิการมีทั้งหมด 21 ข้อ
        ตอบ อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในกฎหมายฉบับพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการตามที่ไม่เป็นนิติบุคคลคือ สำนักงานรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คณะกรรมการสภาการศึกษาที่กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการรัฐมนตรี รองเลขาธิการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง ติดตาม ประเมินผลนโยบายตามภารกิจไม่ใช่หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาได้สำนักงานปลัดกระทรวง

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
3.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
4.ให้ศึกษา PowerPoint
5.หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม
   1.ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
      ตอบ  พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์รองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นเป็นกฎหมาย บังคับใช้แก่ประชาชน โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนและวุฒิสภา พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ และเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

   2.ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

   3.หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ
                1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก ธนาคารโลก และองค์การยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ.2532 คำประกาศจอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "Education for All" และ "All for Education" ซึ่งอาจแปลว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา"
                 2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้วยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
                  3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักประการที่ 2 นี้ ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ อีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่นก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

   4.หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
                1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
                2. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                3. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
                4. มีหลักการส่งเสริมวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                5. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
                6. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครองครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น

   5.สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
                มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
                 มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา" และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
                  มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
                          1. การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
                          2. เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
                          3. การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
                   มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
                           1. การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
                           2. เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
                           3. การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
   
6.ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
                1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
                 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
   7.ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฎิบัติได้อย่างไร
      ตอบ  นำไปใช้ในการสอนนักเรียน โดยการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

   8.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
      ตอบ  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 มีประเด็นดังนี้
                     มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...."
                     มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป                      
                     มาตรา ๓  ให้ยกเลิกความมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
                     มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
                     มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความของมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
                     มาตรา ๖ เพิ่มมาตรา ๑๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
                     มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
                     มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
                     มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
                     มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
                    โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

   9.การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม เพราะเหตุใด
      ตอบ  เห็นด้วย เพราะการกระจายอำนาจตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาไปยังบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายงาน โดยให้ผู้รับผิดชอบมีอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้งฝ่ายงานบริหารวิชาการ ฝ่ายงานบริหาร งบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคล ฝ่ายงานบริหารทั่วไป เป็นการจัดการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ

   10.การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
      ตอบ  เห็นด้วย เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งในการกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจการปกครองร่วมกันทั้งหมด

   11.หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
                1. กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                2. กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                3. เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   12.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
      ตอบ  เห็นด้วย เพราะว่าใบประกอบวิชาชีพจะเป็นสิ่งที่ระบุว่าสามารถประกอบวิชาชีพนั้นๆได้หรือไม่

   13.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
      ตอบ  โดยการชี้แจงรายละเอียดและความจำเป็นที่จะต้องระดมทุนให้กับผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้

   14.ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
      ตอบ  ก่อนที่จะพัฒนาสื่อจะต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อที่จะนำไปพัฒนาสื่อนั้นๆ และปูพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีให้กับนักเรียนด้วย

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาอ่าน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
   ตอบ  เมื่อได้อ่านรัฐธรรมนูญแล้วทำให้รู้ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นกรอบแนวทางในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
         
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
   ตอบ   ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
             มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
             ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
             การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
             มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
             การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย การเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับวามคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
   ตอบ  มาตรา 99 บุคคลผู้มีสมบัติดังตอไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
                1.มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
                2.มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
                3.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
           มาตรา 100 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
                1.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
                2.อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                3.ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
                4.วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
   ตอบ  เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองของประเทศไทย เป็นกฎหมายที่คอยควบคุมการดำเนินชีวิตของประชาชนให้เปนไปอย่างสงบสุข มีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชิวิตที่เท่าเทียมกัน

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
   ตอบ  ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลง มีความเจริญรุ่งเรือง มีการพัฒนาขึ้นในหลายๆด้าน รัฐธรรมนูญจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบ้างในบางส่วนที่จำเป็น โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม ไม่ทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์กัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับและเห็นชอบด้วย

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
  ตอบ  มีการขัดแย้งกัน มีการทุจริตคอรัปชันกัน แต่ละฝ่ายรับผิดชอบและปฎิบัติหน้าที่ของตนไม่ดีพอ
          ไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรภาพต่อการบริหารบ้านเมือง เพราะมีการทุจริตเกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวของกับกฎหมาย หาให้มากที่สุดลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษา อย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

นิยามของคำว่า "อัยการ"
เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในกรมหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้

นิยามของคำว่า "โมฆะ"
เป็นนิติธรรมที่ไม่มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายตั้งแต่แรก

นิยามของคำว่า "หมายเรียก"
คือหนังสือเชิญจากที่หนึ่งมายังอีกที่หนึ่งเพื่อให้ผู้ที่ออกหมายเรียกมาให้ปากคำ

นิยามของคำว่า "สัญญาตัวแทน"
สัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น

นิยามของคำว่า "สินไหมทดแทน"
การชดใช้ค่าเสียหาย

นิยามของคำว่า "วินิจฉัย"
การใช้ความคิดเพื่อการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

นิยามของคำว่า "ราชอาณาจักร"
หมายความรวมถึงเขตไหล่ทวีปที่เป็นสิทธิของประเทศไทย ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปและตามความตกลงกับต่างประเทศด้วย

นิยามของคำว่า "ภูมิลำเนา"
ที่อยู่ที่ถาวรตามทะเบียนบ้าน

นิยามของคำว่า "ผู้เยาว์"
คือบุคคลที่อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์

นิยามของคำว่า "สุจริต"
การประพฤติดี ประพฤติชอบ ซื่อสัตย์

ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน(ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.lawamendment.go.th/ [ 6 พฤศจิกายน 2555 ]



วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง

นาย  ธัชชาวิชญ์  คีรีลักษณ์
รหัสนักศึกษา  5311103121
ชั้นปีที่ 3  หลักสูตรคณิตศาสตร์  คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา  โรงเรียนชุมชนบ้านไทรห้อง
มัธยมศึกษาตอนต้น  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
มัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา

ปรัชญา
"คนที่รู้จักถามนั้นโง่อยู่ชั่วนาที  คนที่ไม่ถามนั้นโง่ตลอดไป"